ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท คือ
1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา
เช่น โครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ เป็นโครงงานที่สร้างเครื่องมือ ใช้สร้างงาน
ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์
เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟแวร์ฝึกพิมพ์
3. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลอง
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวัน
5. โครงงานพัฒนาเกมส์ เพื่อความรู้ ความเพลิดเพลิน
ที่มา(http://www.commcru.com/index_2/Instructional%20Media/M5/ProjectP4.html)
ประเภทของโครงงาน
เนื่องจากโครงงาน คือ การแก้ปัญหาหรือข้อสงสัยของนักเรียน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเนื้อหาหรือข้อสงสัยตรงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ใด ก็จัดเป็นโครงงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ จึงแบ่งโครงงานตามการได้มาซึ่งคำตอบของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. โครงงานประเภทสำรวจและรวบรวมข้อมูล
2. โครงงานประเภททดลอง
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานประเภททฤษฎี
โครงงานประเภทสำรวจและรวบรวมข้อมูล
โครงงานประเภทนี้ ผู้ทำโครงงานเพียงต้องการสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกหมวดหมู่และนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน
การสำรวจและรวบรวมข้อมูลอาจทำได้หลายรูปแบบแล้วแต่กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ เช่น
๔ สำรวจคำราชาศัพท์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
๔ สำรวจชื่อพืชเศรษฐกิจของจังหวัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
๔ สำรวจคำศัพท์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
๔ สำรวจชนิดของกีฬาท้องถิ่นในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
๔ สำรวจวิธีบวกเลขที่ชาวบ้านนิยมใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ในการทำโครงงานประเภทสำรวจข้อมูลไม่จำเป็นต้องมีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องนักเรียนเพียงแต่สำรวจรวบรวมข้อมูลที่ได้ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดให้เป็นหมวดหมู่และนำเสนอ ก็ถือว่าเป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูลแล้ว
โครงงานประเภททดลอง
ในการทำโครงงานประเภททดลอง ต้องมีการจัดการกับตัวแปรที่จะมีผลต่อการทดลอง ซึ่งมี 4 ชนิด คือ
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ หมายถึงเหตุ ของการทดลองนั้นๆ
2. ตัวแปรตาม ซึ่งจะเป็นผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต้น
3. ตัวแปรควบคุม หมายถึง สิ่งที่ต้องควบคุมให้เหมือนๆ กัน มิฉะนั้นจะมีผลทำให้ตัวแปรตามเปลี่ยนไป
4. ตัวแปรแทรกซ้อน ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือ ตัวแปรควบคุมนั่นเอง แต่บางครั้งเราจะควบคุมไม่ได้ ซึ่งจะมีผลแทรกซ้อน ทำให้ผการทดลองผิดไป แต่ก็แก้ไขได้โดยการตัดข้อมูลที่ผิดพลาดทิ้งไป
ตัวอย่างเช่น นักเรียนต้องการศึกษาว่า กระดาษชนิดใดสามารถพับเครื่องร่อนและปาได้ไกลที่สุด
ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ ชนิดของกระดาษ
ตัวแปรตาม คือ ระยะทางที่กระดาษเคลื่อนที่ได้
ตัวแปรควบคุม คือ แรงที่ใช้ปากระดาษ ความสูงของระยะที่ปา
ตัวแปรแทรกซ้อน คือ บางครั้งในขณะปามีลมพัดเข้ามา ซึ่งจะทำให้ข้อมูลผิดพลาด เป็นต้น
โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่มาประดิษฐ์หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากมาย ผุ้เขียนจะรวมถึงการเขียนหนังสือ แต่งเพลง สร้างบทละครและอื่นๆ ไว้ในโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้วย เช่น การประดิษฐ์ไม้ปิงปองแบบใหม่ การหาวัสดุมาติดไม้ปิงปองแล้วตีได้ดีขึ้น การแต่งบทประพันธ์ การเขียนหนังสือประกอบการเรียนแทนหนังสือเรียนที่ใช้กันอยู่ การออกข้อสอบเพื่อให้เพื่อนๆ ใช้สอบแทนข้อสอบที่ครูออกข้อสอบ เป็นต้น
โครงงานประเภททฤษฎี
โครงงานประเภททฤษฎี เป็นการใช้จินตนาการของตนเองมาอธิบายหลักการหรือแนวความคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจอธิบายในรูปของสูตรหรือสมการ หรืออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่สามารถอธิบายได้โดยหลักการเดิมๆ
การทำโครงงานประเภทนี้ ผู้ทำโครงงานจะต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี จึงสามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ จึงไม่เหมาะที่จะทำในระดับนักเรียนมากนัก
I ขั้นตอนในการสอนโครงงาน
1. การเลือกเรื่องที่จะให้นักเรียนทำโครงงาน
การที่ครูจะสอนนักเรียนโดยบอกความรู้ให้นักเรียนหรือให้นักเรียนฝึกหาความรู้จากปฏิบัติการ (LAB) เดิมๆ เสมอไปคงจะไม่ถูกต้องนัก ครูควรจะสอนให้นักเรียนได้รับกระบวนการหาความรู้หรือที่เรียกว่า ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งก็ควรจะเป็นการสอนด้วยโครงงาน
การเลือกหัวข้อโครงงานให้นักเรียนศึกษาง่ายที่สุด คือ ให้นักเรียนไปสำรวจรวบรวมข้อมูลจากเรื่องที่เราจะสอนนักเรียน ตัวอย่างโครงงาน
- รวบรวมลักษณะทั่วไป ส่วนประกอบและบริเวณที่ขึ้นของพืชรอบๆตัว
- รวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างคน สัตว์ และพืช
- รวบรวมคำราชาศัพท์ที่มีใช้ในชีวิตประจำวัน
- รวบรวมลักษณะของเปลือกโลก
- รวบรวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากสินค้า
2. ออกแบบการทำงาน
ครูอาจจะนำหัวเรื่องที่เขียนไว้ให้นักเรียนเลือกหัวเรื่องที่จะศึกษา แล้วนำหัวเรื่องที่เราต้องการสอนมาวิเคราะห์ และควรมีแนววิเคราะห์ของผู้สอนเอง แต่อาจใช้แบบวิเคราะห์ตรงๆ ได้ดังนี้ คือ
1. ชื่อเรื่อง
2. ผู้ทำโครงงาน
3. ปัญหาหรือเหตุจูงใจในการทำงาน
4. ตัวแปร (ถ้ามี) ประกอบด้วย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
6. แหล่งข้อมูลที่นักเรียนจะศึกษา
7. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษากี่วัน และศึกษาช่วงเวลาใด
8. นักเรียนต้องใช้วัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายใดบ้าง หาจากแหล่งใด
ที่มา(http://www.tet2.org)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น